กลับไปหน้าแรก
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (ปรับปรุง 2552)
วิศวกรรมเครื่องกล ปี พ.ศ. 2552
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
 ๐ ชื่อหลักสุตร  
 ชื่อภาษาไทย  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (ปรับปรุง 2552)
 ชื่อภาษาอังกฤษ  Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering
 ๐ ชื่อปริญญา  
 ชื่อเต็ม (ไทย)  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)
 ชื่อย่อ (ไทย)  วศ.บ.(วิศวกรรมเครื่องกล)
 ชื่อเต็ม (อังกฤษ)  Bachelor of Engineering (Mechanical Engineering)
 ชื่อย่อ (อังกฤษ)  B.Eng.(Mechanical Engineering)
 ๐ ระดับการศึกษา  
 ระดับ  ปริญญาตรี
 ระยะเวลาศึกษา  4 ปี
ปรัชญาหลักสูตร |  โครงสร้างหลักสูตร |  แผนการศึกษา |  รายละเอียดวิชา |  รายละเอียดอื่นๆ |  ดาวน์โหลด
 ๐ กำหนดการเปิดสอน  
  ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป
 ๐ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา  
  1. สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า หรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น 2. สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส) สาขาวิชาช่างยนต์ ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ช่างเทคนิคการผลิต ช่างเขียนแบบเครื่องกล ช่างเทคนิคโลหะหรือเกี่ยวข้อง หรือเทียบเท่าหรือสูงกว่า หรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น ซึ่งสามารถเทียบโอนได้โดยให้เป็นไปตามประกาศสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
 ๐ การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา  
  เป็นผู้ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ และ/หรือเป็นผู้ผ่านการคัดเลือกตามข้อบังคับของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี
 ๐ ระบบการศึกษา  
  1. ระบบการศึกษาเป็นนแบบทวิภาค หนึ่งปีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ สำหรับการศึกษาภาคฤดูร้อนมีกำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตที่มีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ 2. การคิดหน่วยกิต 2.1 รายวิชาทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตในระบบทวิภาค 2.2 รายวิชาปฎิบัติ ที่ใชเวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค 2.3 การฝึกงานหรือฝึกภาคสนามที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค 2.4 การทำโครงงานหรืกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
 ๐ การลงทะเบียนเรียน  
  1. จำนวนหน่วยกิตของการลงทะเบียนเรียน ให้ลงทะเบียนได้ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 22 หน่วยกิตในแต่ละภาคการศึกษาปกติ และไม่เกิน 9 หน่วยกิต สำหรับการศึกษาภาคฤดูร้อน หากต้องการลงทะเบียนมากกว่านี้ให้เป็นไปตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี 2. ระยะเวลาการลงทะเบียนเรียน สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อนระยะเวลา 6 ภาคการศึกษาปกติ
 ๐ การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา  
  ต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยต้องให้แต้มเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนน จึงจะถือว่าเรียนจบตามหลักสูตร
 ๐ จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะจบ  
  100 ราย
 ๐ สถานที่และอุปกรณ์การสอน  
  1. สถานที่ ใช้อาคารเรียน ห้องปฎิบัติการ และอุปกรณณ์การสอนของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ และห้องปฎิบัติการกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร โดยมีรายละเอียดดังนี้ 2. อุปกรณ์ที่มใอยู่แล้ว Thermo-Fluid Laboratory 1. Friction Loss in Pripe 2. Jet Impact 3. Bernoulli's Theorem Verification Apparatus 4. Reynolds Number 5. Test of Oil Viscosity 6. Refrugeration & Air-Conditionning Fluid Power and Turbomachinery Laboratory 1. Gas Turbine 2. Fluid Power Test Set Automotive Laboratory 1. Engine Set 2. Chassis Dynamometer 3. Eddy Current Dynamometer 4. Engine Analyser 5. Smoke Detector 6. Exhaust Analyzer 7. ABS Brake Tester Material Laboratory 1. Fatiugue 2. Universal Testing Apparatus 3. Hardness Test 4. Torsion Test 5. Tensile and Compression Test Dynamic Systems Laboratory 1. Balancing Machine 2. PLC Test Set 3. Electro-pneumatic Test set 4. Vibration Measuring System CAD/CAM/CAE Laboratory 1. คอมพิวเตอร์จำนวน 20 เครื่อง 2. ซอฟแวร์การออกแบบและการวิเคราะห์ทางวิศวกรรมเครื่องกล 3. CNC Milling Machine 4. CNC Lathe